หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4
งานร่างแบบ
งานร่างแบบ(Layout)   คือการวางตำแหน่ง  จุด,  เส้นตรงส่วนโค้ง,  รูปสามเหลี่ยม,  รูปสี่เหลี่ยมและ/หรือ   รูปหลายเหลี่ยมลงบน-ชิ้นงาน  ชิ้นงานที่กล่าวถึงอาจจะเป็น วัสดุ หรือโลหะใดๆ เช่นเหล็กชนิดต่างๆ เหล็กอาบสังกะสีทองเหลือง,  อลูมิเนียม
เครื่องมือร่างแบบ
1.แท่นระดับ (Surface Plates)




      
ทำจากเหล็กหล่อ หรือ  หินแกรนิตคุณภาพดี  ผิวเจียรนัยเรียบการใช้และการบำรุงรักษาแท่นระดับ
ใช้รองรับงานร่างแบบ
            - ห้ามนำของมีคมมาวางลงบนแท่นระดับ
            2. เวอร์เนียย์  ไฮย์เกจ  (Vernier  High Gauges )


การใช้และการบำรุงรักษาเวอร์เนียย์  ไฮย์เกจ 
            - ใช้วัดความสูง และ   ลากเส้นบนชิ้นงาน
ระวังอย่าให้มีรอยขูดขีดบนสเกลวัดงาน 
            3. เวอร์เนียย์  แคลิปเปอร์  (Vernier  Calliper)



การใช้และการบำรุงรักษาเวอร์เนียย์  แคลิปเปอร์  
- ใช้วัดขนาดความโตภายนอกความโตภายในและวัดความลึกชิ้นงาน
- ระวังอย่าให้มีรอยขูดขีดบนสเกลวัดงาน
            4. น้ำยาร่างแบบ (Engineers Layout Ink) 
การใช้น้ำยาร่างแบบ 

ใช้สำหรับพ่นหรือทาลงบนชิ้นงานก่อนการร่างแบบ  เพื่อความสะดวกในการทำงาน 
5. ฉาก (Engineer's Try Square)


การใช้และการบำรุงรักษาฉาก
- ใช้สำหรับวัดมุมฉาก
- ระวังอย่าให้มีรอยขูดขีดบนฉาก
- ชโลมน้ำมัน 
6. เหล็กขีด (Scriber)  มีมุมที่ปลาย  15 องศา
การใช้และการบำรุงรักษาเหล็กขีด
- ใช้สำหรับลากเส้นบนชิ้นงาน
- ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
            7. เหล็กนำศูนย์ (Centre Punch)  มีมุมที่ปลาย  90 องศา




การใช้และการบำรุงรักษาเหล็กนำศูนย์      
ใช้สำหรับตอกหมายงาน
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
8. เหล็กถ่ายแบบ (Prick Punch)  มีมุมที่ปลาย  30-60  องศา
การใช้และการบำรุงรักษาเหล็กถ่ายแบบ
ใช้สำหรับตอกถ่ายลอกแบบ ลงบนงาน
- ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
9. แท่งฉาก (Angle Plate)

            การใช้และการบำรุงรักษาแท่งฉาก
- ใช้สำหรับจับยึดงานให้มั่นคง 
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
10. วี-บร๊อค (V-Block)
การใช้และการบำรุงรักษา วี-บร๊อค


ใช้สำหรับจับยึดงาน   ให้มั่นคง โดยเฉพาะงานทรงกลม,ทรงกระบอก
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่ 
11. (Surface Gauge)  
            การใช้และการบำรุงรักษา Surface Gauge
- ใช้สำหรับ หาศูนย์ตรวจสอบระยะถ่ายขนาด ฯลฯ
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
12. บรรทัดเหล็ก (Steel Rule)


การใช้และการบำรุงรักษาบรรทัดเหล็ก 
 - ใช้สำหรับวัดระยะ
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่      
13. เหล็กขีดขนาน (Wheel Marking Gauge) 

การใช้และการบำรุงรักษาเหล็กขีดขนาน 

ใช้สำหรับขีดเส้นขนานขอบงาน
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
14. วงเวียน


การใช้และการบำรุงรักษาวงเวียน
ใช้สำหรับเขียนส่วนโค้งและวงกลม
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
15. ค้อน (Hammer)


การใช้และการบำรุงรักษาค้อน
ใช้สำหรับตอกหมายงาน
ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่
16.Calliper


การใช้และการบำรุงรักษาCalliper
- ใช้ถ่ายหรือกะขนาดของชิ้นงาน
- ชโลมน้ำมันและเก็บเข้าที่ 
หลักการร่างแบบมี  2   ลักษณะ 
1.   ร่างแบบโดยใช้จุดศูนย์กลางของชิ้นงานเป็นหลัก เป็นการร่างแบบโดยยึด หรือ เริ่มการร่างแบบจากการหาแนวศูนย์กลางของงานนั้นๆก่อน แล้วค่อยๆร่างเส้นที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันออกไปจนครบสมบูรณ์ตามต้องการ
2. ร่างแบบโดยใช้ขอบของชิ้นงานเป็นหลัก เป็นการร่างแบบโดยยึด หรือเริ่มการร่างแบบจากขอบด้านใดด้านหนึ่งของชิ้นงาน   แล้วค่อยๆ ร่างเส้นที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันออกไปจนครบสมบูรณ์ตามต้องการ                           
 การใช้และการบำรุงรักษา 
1.  อย่าใช้เครื่องมือร่างแบบผิดวัตถุประสงค์
2.  ตรวจสอบเครื่องมือร่างแบบทุกชิ้น และทุกครั้งก่อนการใช้งาน
3.  ถ้าพบสิ่งบกพร่องของเครื่องมือร่างแบบให้แจ้งครูผู้ควบคุมก่อน
4.  เมื่อเลิกใช้งานควรเก็บเข้าที่ ชโลมน้ำมันให้เรียบร้อย


ขอขอบพระคุณเว็บ https://sites.google.com/site/wanidj/home/5-ngan-rang-baeb-laying-out


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น