หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6
เครื่องมือตัด (Cut tools)
เครื่องมือตัด (Cut tools) การตัดเป็นกระบวนการที่ทำให้ชิ้นงานที่เราต้องการแยกออกจากกันซึ่งเครื่องมือที่สามารถทำให้เหล็กหรือไม้แยกออกจากกันได้ก็คือ เลื่อย ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิด คือ
เลื่อยที่ใช้สำหรับงานโลหะ
เลื่อยมือ (Hack Saw)
เลื่อยมือเป็นเครื่องมือตัดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาเลื่อยตัดทั้งหลาย เพราะสามารถใช้ตัดชิ้นงานได้เป็นส่วนมาก ไม่จำกัดประเภทวัสดุ ไม่จำกัดรูปทรง และสามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนใบเลื่อยในกรณีที่เกิดหักเสียหาย ได้ง่ายอีกด้วย เลื่อยมือมีส่วนประกอบคือ
•  โครงเลื่อย (Frame) สามารถปรับได้ตามลักษณะของชิ้นงาน มีสกรูปรับความตึงของใบเลื่อย
•  ใบเลื่อย เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็กคาร์บอนสูง หรือเหล็กรอบสูง (H.S.S.) มีขนาดจำนวนฟันต่อ 25 มม. คือ 14 ฟัน 18 ฟัน 24 ฟัน 32 ฟัน ในการใช้งานต้องเลือกจำนวนฟันให้เหมาะสมกับการใช้งาน ข้อแนะนำสำหรับตัดเหล็กทั่วไปใช้ใบเลื่อย 24 ฟัน

รูปแสดงเลื่อยมือ (Hack saw) ( อารมณ์.ภาพถ่ายดิจิตอล, 2550)

วิธีการใช้เลื่อยมือ
•  ใส่ใบเลื่อยให้ฟันเลื่อยชี้ไปข้างหน้า แล้วขันสกรูปรับใบเลื่อยให้ตึง
•  ยืนเลื่อยในตำแหน่งที่ถนัด และจับชิ้นงานให้แน่น
•  ใช้ความเร็วในการเลื่อย ควรใช้ระยะชักประมาณ 40-50 ครั้งต่อนาที
•  ชิ้นงานใกล้จะขาดให้ลดความเร็วลงเพื่อความปลอดภัย
 การจัดเก็บและบำรุงรักษา
•  ทำความสะอาด และชโลมน้ำมันโครงเลื่อยมือให้เรียบร้อย
•  หย่อนใบเลื่อยก่อนเก็บเพื่อลดความเครียดของโลหะ
•  หลังการใช้งานควรเก็บไว้ในที่เก็บ
เลื่อยที่ใช้สำหรับงานไม้
เลื่อยลันดา
เลื่อยลันดา เป็นเลื่อยที่ใช้สำหรับตัดโกรกไม้ ทำจากเหล็กแผ่นบาง สปริงแข็งมีลักษณะเป็นแผ่น โคนใหญ่มีมือจับยึดแน่น ปลายเรียว มีซี่ฟันเรียงกันตลอดความยาวของแผ่นเหล็ก มีอยู่ 2 แบบ คือ ถ้าใช้ตัดตามความยาวของเสี้ยนไม้ เรียกว่าเลื่อยโกรก มีจำนวนฟัน 6 ฟันต่อนิ้ว แต่ถ้าใช้ตัดตามขวางของเสี้ยนไม้ เรียกว่า เลื่อยตัด มีจำนวนฟัน 8-12 ฟันต่อนิ้ว

รูปแสดงเลื่อยลันดา ( อารมณ์.ภาพถ่ายดิจิตอล, 2550)

วิธีการใช้เลื่อยลันดา
•  จับยึดชิ้นงานให้แน่น
•  ตั้งใบเลื่อยกับผิวหน้าไม้ให้ทำมุมกัน 45 องศา
•  ดึงใบเลื่อยถอยหลังแล้วดันไปข้างหน้า ในระยะสั้น ๆ จนกว่าจะเกิดคลองเลื่อย
•  บังคับเลื่อยให้ได้องศาที่กำหนด ดันใบเลื่อยถอยหลังสุด และดันไปข้างหน้าสุดความยาวเลื่อยให้ทำดังนี้สลับกัน พยายามบังคับแนวเลื่อยให้ตั้งฉากกับชิ้นงานในขณะเลื่อย
•  ชิ้นงานใกล้จะขาดให้ลดความเร็วลง และใช้มือจับไม้ส่วนที่ตัดเพื่อไม่ให้ไม้ฉีก

การจัดเก็บและบำรุงรักษา
•  ปรับแต่งใบเลื่อยให้คมเสมอ
•  คัดคลองเลื่อยให้เหมาะสมกับงาน
•  เช็ดทำความสะอาดชโลมน้ำมันหล่อลื่นใส แล้วเก็บไว้ในที่เก็บ


ขอขอบพระคุณเว็บ http://www.supradit.com/contents/mechanical_engineer/lesson1/1yon/6cut/01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น